วันศุกร์ที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2555
วันอาทิตย์ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2555
เคสคอมพิวเตอร์แปลกๆ ที่หาดูได้ยาก
เคสจำลองเป็นกล่องสมบัติ? (แต่ถ้าสเปคในเคสนี้ประกอบด้วย ram 64 mb,harddisk 10 GB นั่นคือขยะดีๆนั่นเอง!! )
เคสนี้คล้ายๆ เครื่องไทม์แมกชีน ย้อนเวลา ไฮเทคๆ ยังไงก็ไม่รู้ -*-
เคสนี้เลียนแบบถังขยะครับ แต่ว่าวันไหนแม่เผลอมาเห็นนึกว่าถังขยะใบนี้เต็ม แล้วเอาไปเทใส่รถขยะล่ะ จะเกิดอะไรขึ้น!!!
เคสนี้แปลกๆ เหะ ไม่รู้มันจะสื่ออะไร? เอาเป็นว่ามันโชว์ว่าเคสแตกแล้วกัน แต่จริงๆ้เป็นเพียงการตกแต่งเท่านั้น
เคสนี้ออกแนวน่ากลัวๆ ดูแล้วคล้ายสัตว์ตัวหนึ่ง ซึ่งดูได้จาก ขาทั้ง 4 ข้าง และใบหน้าที่อยู่ด้านล่างของช่องใส่ฟรอปปี้ดิกส์
เคสนี้สำหรับพวกบ้ามิเตอร์โดยเฉพาะ คล้ายๆ เพื่อนผมคนหนึ่งที่ชอบแต่งรถ ไม่รู้มันจะติดวัดอะไรกันหนักหนา ผมเคยถามเพื่อนคนนี้ว่า “ติดเยอะขนาดนี้ ดูค่ามันเป็นบ้างหรือเปล่าว่ะ” มันตอบกลับง่ายๆว่า “ดูไม่เป็นว่ะ แต่ติดเอาเท่ห์ไว้ก่อน” -*-
สุดท้าย สำหรับพวกชอบ over clock เพื่อเร่งคอมให้เร็ว ซึ่งมีกระบอกน้ำช่วยลดความร้อนของ CPU ต่อให้ด้านบนเลย
ระบบ PERT / CHART
การวางแผนและควบคุมโครงการด้วยเทคนิค
PERT และ
CPM
1. แนวคิดเกี่ยวกับ PERT และ CPM
ในการบริหารงานโครงการขนาดใหญ่
ซึ่งประกอบด้วยกิจกรรมต่างๆ มากมายจำเป็นต้องมีการวางแผน กำหนดขั้นตอนในการทำงาน และควบคุมความก้าวหน้าของโครงการเป็นอย่างดี
ในปัจจุบันเทคนิคของการบริหารโครงการที่นิยมใช้กัน ได้แก่ Gantt Chart , เทคนิค PERT และ CPM
แผนภูมิแกนต์ (Gantt Chart) กับงานโครงการ
Gantt Chart เป็นเทคนิคที่คิดขึ้นในปี พ.ศ. 2460 โดย Henry L, Gantt เพื่อใช้ในการวางแผนเกี่ยวกับเวลา ใน Gantt Chart จะใช้แท่งสี่เหลี่ยมผืนผ้าแทนกิจกรรมแต่ละกิจกรรม ที่เริ่มต้นและสิ้นสุดที่เวลาต่างๆ
กัน ดังในภาพข้างล่าง
จากแผนภูมิจะเห็นว่า แท่งสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่ใช้แสดงกิจกรรมแต่ละกิจกรรมนั้น
จะบอกถึงระยะเวลาที่ใช้ , จุดเริ่มต้น และจุดสิ้นสุด ของกิจกรรมแต่ละกิจกรรม เช่น กิจกรรม ก. ใช้เวลาทำงาน 2 สัปดาห์ เริ่มต้นที่ สัปดาห์ที่
1 และสิ้นสุดสัปดาห์ที่ 3 กิจกรรม ข. ใช้เวลา 2 สัปดาห์ครึ่ง เริ่มต้นที่สัปดาห์ที่
2 สิ้นสุดที่กลางสัปดาห์ที่ 4 เป็นต้น แต่
Gantt Chart ยังไม่สามารถแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของกิจกรรมต่างๆ
ได้อย่างชัดเจน เทคนิค
PERT และ CPM จึงถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายมากกว่า
เทคนิค PERT และ CPM
เทคนิคการประเมินผลและทบทวนโครงการ (Program Evaluation
and Review Technique : PERT) และ ระเบียบวิธีวิกฤต (Critical Path Method : CPM) เป็นเทคนิคเชิงปริมาณด้านการวิเคราะห์ข่ายงาน
(Network analysis) ที่ใช้กันแพร่หลายในการวางแผนและควบคุมงานที่มีลักษณะเป็นงานโครงการ
(งานที่มีจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุด และสามารถกระจายเป็นงานย่อยที่มีความสัมพันธ์กันได้)
ซึ่งจะช่วยให้ผู้บริหารโครงการสามารถดำเนินโครงการให้สำเร็จตามเวลาและในงบประมาณที่กำหนด
ความเป็นมาของ PERT และ
CPM
PERT พัฒนาขึ้นเมื่อ
พ.ศ. 2501โดยกองทัพเรือสหรัฐร่วมกับ บูซ
แอลเลน และ แฮมิลตัน (Booz Allen and Hamilton) และ ล๊อกฮีด แอร์คราฟต์
(Lockheed Aircraft) เพื่อใช้ในการบริหารโครงการขีปนาวุธโพลาริส
(Polaris) ซึ่งเป็นโครงการขนาดใหญ่ ประกอบด้วยผู้รับเหมาช่วง
(Subcontractor) มากกว่า 9,000 ราย ลักษณะของโครงการเป็นการวิจัยและพัฒนา
และมีการผลิตส่วนประกอบใหม่ๆ ซึ่งไม่เคยมีผู้ใดผลิตมาก่อน ดังนั้นการประมาณระยะเวลาในการดำเนินการต่างๆ
ในโครงการจึงไม่สามารถกำหนดลงไปได้แน่นอน ตายตัว จำเป็นต้องนำเอาแนวความคิดของความน่าจะเป็น
(probability concept) เข้ามาประกอบด้วย จึงอาจกล่าวได้ว่า จุดเด่นของ
PERT คือ การสามารถนำไปใช้กับโครงการที่มีเวลาดำเนินงานไม่แน่นอน
CPM พัฒนาขึ้นเมื่อ
พ.ศ. 2500 โดเคลลี (J.E. Kelly)
แห่งเรมิงตัน แรนด์ (Remington Rand) ร่วมกับวอล์กเกอร์
(M.R. Walker) แห่งบริษัทดูปองต์ (Dopont) เพื่อใช้ในโครงการก่อสร้างและซ่อมบำรุงเครื่องจักรในโรงงานเคมี
โดยเน้นในด้านการวางแผนและควบคุมเวลา ตลอดจนค่าใช้จ่ายโครงการ CPM มักจะนำไปใช้กับโครงการที่ผู้บริหารเคยมีประสบการณ์มาก่อนและสามารถประมาณเวลารวมทั้งค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของโครงการได้แน่นอน
ความแตกต่างระหว่าง PERT และ
CPM
ข้อแตกต่างชัดเจนระหว่าง PERT และ
CPM คือ เวลาในการทำกิจกรรม กล่าวคือ เวลาในการทำกิจกรรมของ
PERT จะเป็นเวลาโดยประมาณซึ่งคำนวณได้ด้วยการใช้ความน่าจะเป็น
PERT จึงใช้กับโครงการที่ไม่เคยทำมาก่อน หรือโครงการซึ่งไม่สามารถเก็บรวบรวมเวลาของการทำกิจกรรมได้
เช่น โครงการพัฒนาวิจัย ส่วน CPM นั้น เวลาที่ใช้ในกิจกรรมจะเป็นเวลาที่แน่นอน
ซึ่งคำนวณได้จากข้อมูลที่เคยทำมาก่อน เช่น อัตราการทำงานของงานแต่ละประเภท อัตราการทำงานของเครื่องจักร
เป็นต้น CPM จึงใช้กับโครงการที่เคยทำมาก่อน ซึ่งมีความชำนาญแล้ว
เช่น งานก่อสร้าง
2. โครงข่ายงาน (Network)
คือ แผนภูมิหรือไดอะแกรมที่เขียนขึ้นแทนกิจกรรมต่างๆ
ที่ต้องทำในโครงการ โดยแสดงลำดับก่อนหลังของกิจกรรม
หลักเกณฑ์การเขียนโครงข่ายงาน
1.
งาน 1 งาน จะเขียนแทนด้วยลูกศร 1
อัน ซึ่งมักเป็นเส้นตรง
2.
ที่หัวลูกศรและหางลูกศรจะต้องมีวงกลมติดอยู่ที่เรียกว่า
เหตุการณ์ (Even
หรือ Node)
3.
จุดเริ่มต้นหรือเหตุการณ์เริ่มต้นของโครงข่ายงาน
มีเพียง
1 จุด และจุดสิ้นสุดโครงข่ายงานต้องมีเพียงจุดเดียวหรือเหตุการณ์เดียว
4.
ในการเขียนโครงข่ายงานหรือผังลูกศรจะต้องคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้
4.1 ขณะที่กำลังเขียนงานนี้อยู่
มีงานใดต้อง ทำก่อนบ้าง
4.2 ขณะที่กำลังเขียนงานนี้อยู่
มีงานใดต้อง ทำหลังจากงานนี้บ้าง
4.3 ขณะที่กำลังเขียนงานนี้อยู่
มีงานใดต้อง ทำไปพร้อมๆ กับงาน
5. งานที่เริ่มต้นจากจุดเดียวกันจะสิ้นสุดที่เหตุการณ์เดียวกันไม่ได้ซึ่งในที่นี้ต้องใช้งานหุ่น (Dummy Activity) เข้าช่วยโดยงานหุ่นจะเป็นลูกศรเส้นประ งานหุ่นนี้มีระยะเวลาของงานเป็นศูนย์
6.
พยายามหลีกเลี่ยงการใช้งานหุ่น (Dummy Activity)
7.
พยายามหลีกเลี่ยงลูกศรตัดกัน
ตัวอย่างที่ 2
จงเขียนโครงข่ายงานของโครงงาน ซึ่งประกอบด้วยงานและลำดับก่อนหลังดังนี้ 1. งาน A เป็นงานแรกของโครงงาน
2. งาน B , C , D ต้องทำต่อจากงาน A
3. งาน E ต้องทำต่อจากงาน B
4. งาน F ทำหลังจากงาน C เสร็จแล้ว
5. งาน G , H ทำต่อจากงาน D
6. งาน I , J , L ทำได้เมื่องาน E ทำเสร็จ
7. งาน F , G , I ทำเสร็จก่อนจึงทำงาน K ได้
8. งาน M , O จะทำได้ก็ต่อเมื่องาน H ทำเสร็จ
9. งาน N จะทำได้ก็ต่อเมื่องาน J , K , M ทำเสร็จ
10. งาน P เป็นงานสุดท้ายของโครงงานและจะต้องทำต่อจากงาน L , N และ O
สงกรานต์ " 55
สงกรานต์... 6 อันดับที่เที่ยวยอดฮิต สุดอินเทรนด์ของวัยรุ่น!!
เดือนเมษายน เดือนแห่งอากาศที่ร้อนที่สุดแห่งปี งั้นมาพูดถึงอะไรที่มัน Hot Hot กันดีกว่ากับการต้อนรับหน้าร้อนอย่างเป็นทางการ กับประเพณีแบบไทยๆที่เดินทางเคียงคู่มาทุกยุคทุกสมัย แถมโด่งดังไทั่วโลกกับประเพณีวันสงกรานต์ นั้นเอง !! ^^
เรามาอัพเดทสถานที่ยอดฮิตเหมาะแก่การที่จะใช้วันหยุดอันแสนร้อนอบอ้าวให้กลายเป็นวันที่เย็นชุ่มฉ่ำ สบายกายฉ่ำใจ แถมๆไปฉีดน้ำ ปะแป้งสาวๆหนุ่มหล่อสาวกันอีก ฮั่นแน่!! อย่านึกนะว่าไม่รู้ วันรุ่นสมัยนี้ชอบสงกรานต์ก็เพราะแบบนี้แหละนะ
ยังคงความฮิตคงกระพัน ติดชาร์ตสถานที่เที่ยวในวันสงกรานต์มาตลอด โดยเฉพาะเป็นที่รู้จักไปทั่วโลกและชาวต่างชาติ ที่มักจะเดินทางมาร่วมประเพณีนี้กันอย่างคับคั่ง
เป็นอีกที่หนึ่งที่วัยรุ่นและชาวต่างชาติให้ความสนใจไม่แพ้กัน เสน่ห์ของสีลมที่ไม่เหมือนกันจุดเล่นสงกรานต์อื่นๆ คือส่วนมากตรงจุดต่างๆที่ให้เล่นสงกรานต์มักจะจัดในเวลากลางวัน แต่สีลมแล้วมีทั้งกลางวัน กลางคืน แหม!ช่างเป็นที่ที่เอาใจวัยรุ่นซะเหลือเกิน
เหมาะสำหรับคนที่ไม่ได้ไปงานสงกรานต์เพียงแค่เล่นน้ำเพียงอย่างเดียว เนืองจากบริเวณวิสุทธิกษัตริย์นี้จะมีพิธีแห่ชักพระ ปล่อยนกปล่อยปลา จากสีแยกวิสุทธิกษัตริย์ ไปยังสวนสันติปราการ ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ใครได้มาก็ได้ทั้งบรรยากาศสงกรานต์และยังได้บุญกลับไปด้วย อย่างนี้สิถึงเรียกว่า มา 1 ได้ถึง 2
ซึ่ง CTW ได้จัดประเพณีสงกรานต์นี้ มา 5 ปีแล้วและก็ยังมีคนพูดถึงกันอยู่มากมาย เพราะทางห้างได้เนรมิตบริเวณหน้าลานเซ็นทรัลเวิล์ดอันกว้างขวาง ให้วันร้อนๆกลายเป็นวันแห่งคววาชุ่มฉ้ำ พอตกเย็นก็ถึงเวลาแห่งเสียงเพลง อย่างนี้แหละถูกใจวัยโจ๋กันแน่นอน
ไหลมาจากเซ็นทรัลเวิล์ดมาไม่ไกลเท่าไหร่ เป็นที่แน่นอนกันอยู่แล้วว่าวัยรุ่นถ้าส่วนมากกลัวดำกัน หรือพวกที่ชอบเที่ยวกลางคืนนั้น สถานบันเทิงตามย่านต่างๆนี่แหละเป็นที่ๆไปกันเยอะมากทีเดียว ไม่ว่าจะเป็นผับที่แดนซ์กระจายตลอดคืน หรือจะร้านนั่งชิวๆแบบเปียกไปกินไป เช่นย่าน RCA , ทองหล่อ , เอกมัย เป็นต้น เรียกได้ว่าเล่นกันอย่างเมามันส์ เล้าคลอเสียงเพลงบที่ดีเจเปิดอีก แถมบางที่มีตีมการแต่งตัวด้วย แบบนี้จัดเต็มเปียกไม่กลัวขอสวยไว้ก่อน …
ถึงไกลก็ไม่หวั่น ต่างจังหวัดที่ว่าถึงนั้นที่วัยรุ่นส่วนใหญ่ต้องไปอย่างแน่นอนคือ เชียงใหม่ , พัทยา แน่นอนเพราะต่างจังหวัดนั้นจะเล่นสงกรานต์ช้ากว่าที่กรุงเทพฯ โดยเขาจะเรียกกันว่า “วันไหล” วัยรุ่นหยุดยาวทั้งทีได้โอกาสสาดน้ำสาวๆหนุ่มหน้าตาดี แถมปีนึงมีหนก็อยากจะเล่นให้เต็มที่กันหน่อย พอหมดสงกรานต์ที่กรุงเทพฯแล้วหนุ่มสาวก็จะออกรถไปยังจังหวัดต่งๆเพื่อเล่นเทศกาลสงกรานต์อย่างต่อเนื่อง
เล่นสงกรานต์ยาวติดกันหลานวันแบบนี้ สาดน้ำ-ปะแป้งคนหน้าตาดีๆกันตรึมมละสิ! รู้นะอย่ามาแอ๊บ ชายหนุ่มหญิงสาวก็รอโอกาสนี้มาพบปพกันเนี่ยแหละ แต่เล่นสงกรานต์ก็ต้องระวังความปลอดภัยด้วยนะจ๊ะ ทรัพย์สิน ตัวเองด้วย ^^
เขียนโดย Tas.
วันอาทิตย์ที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2555
การเลือกสินค้ามาทำธุรกิจ E-Commerce
ร้าน พัฒนอะไหล่ยนต์ (สะเดา)
สินค้าและบริการ
รับซ่อมรถจักรยานยนต์และจำหน่ายอะไหล่รถจักรยานยนต์ ครบวงจรชื่่อเจ้าของกิจการ นายธนพัฒน์ ตั้งฐานวริวิทย์ (พี่เซ็นต์)
ที่อยู่ 145 ถนนปาดังเบซาร์ ตำบลสะเดา อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา 90120
โทรศัพท์ | 074 - 412098 |
เวลาทำการ | ทำการทุกวัน 08:30-19:00 วันอาทิตย์ ปิด 17.00 |
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)